การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

Screenshot 2563-04-10 at 12.47.45.png

 การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis)ต่อไป เพื่อให้การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)สัมฤทธิ์ผลอย่างดี  ควรทำสรุปสาระสำคัญของเค้าโครงวิทยานิพนธ์และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)

 ข้อปฏิบัติในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)
 1.  ก่อนสอบ นิสติ นักศึกษาตั้งสติให้ดี ถ้านิสิต  นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเอาใจใส่มาตลอด ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ส่งในครั้งนี้เป็นเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่สมบูรณ์   นิสิต นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้งหนึ่ง โดยยึดคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นหลัก นิสิต นักศึกษา ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่าเครียด อาจทำอะไรเป็นการผ่อนคลายบ้าง และเข้านอนหัวค่ำ เพื่อตื่นแต่เช้าในวันรุ่งขึ้นและเดินทางสู่ห้องสอบด้วยความแจ่มใส
 2.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) นิสิต นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และตรวจดูความเรียบร้อย  เช่น เครื่องดื่มหรืออาหารว่างมีหรือไม่ ดูสภาพห้องสอบว่าที่นั่งของตนและที่นั่งของคณะกรรมการอยู่ตรงไหน  นิสิต  นักศึกษาควรใช้เวลาช่วงนี้ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอข้อมูล อาจเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือการเตรียมเปิดไฟล์หรือสไลด์ในการนำเสนอ
  3.  ก่อนขึ้นสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญ    ลงในกระดาษแผ่นเดียว   ให้ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด อาจใช้แผนผังความคิด  (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัยหรืออาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้ ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่วิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 
  4.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรมีการตรวจสอบหัวข้อทุกข้ออย่างละเอียด  ชัดเจน  รอบคอบ  รัดกุมในทุกส่วน (โดยทั่วไปมักประกอบไปด้วย  ภูมิหลัง  ความเป็นมาของการวิจัย  ความมุ่งหมาย  สมมติฐาน  (ถ้ามี)  ขอบเขต  นิยามศัพท์เฉพาะ  แนวคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล )  ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก  เพราะเค้าโครงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม  เป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ  ที่จะตามมา 
  5.  นิสิต  นักศึกษา ส่วนใหญ่ เตรียมตัวมายังไม่ดีพอ  เค้าโครงวิทยานิพนธ์มีความบกพร่องหลายแห่ง  การนำเสนอไม่น่าสนใจ  บางคนเสนอโดยการอ่านจากเอกสารที่เตรียมมาก  การตอบคำถามบางครั้งไม่ตรงประเด็นหรือตอบไม่ได้  โดยเฉพาะในคำตอบที่เป็นการประเมินความรู้  ความเข้าใจในวิธีการ  หลักการ  ทั้งนี้เนื่องจากขาดความรอบรู้อย่างแท้จริง  เตรียมตัวมาน้อย  ดังนั้นเพื่อตัดข้อบกพร่องดังกล่าว นิสิต  นักศึกษาจะต้องเตรียมพร้อมในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)  โดยเตรียมการนำเสนอให้กระชับ  รัดกุม  เข้าใจง่าย  น่าสนใจ  ด้วยความคล่องแคล่วถูกต้องแม่นยำ  รวมทั้งเตรียมตอบคำถามต่าง ๆ  ที่แสดงถึงการมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์  เช่น เตรียมตัวก่อนสอบ  10 วัน เป็นต้น และควรซักซ้อมด้วยตนเองให้คล่องโดยเฉพาะถ้าได้ซักซ้อมกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ในส่วนสำคัญจะช่วยได้มาก
  6.  ด้านกรรมการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  โดยทั่วไปประกอบด้วยอาจารย์ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการจากภายนอก  กรรมการจากภายนอกอาจมีจำนวนเท่ากันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือมากกว่า    
 7.  พิธีการสอบก็จะเริ่มโดยที่ท่านประธานจะให้ นิสิต  นักศึกษานำเสนองานวิจัย ขอให้ นิสิต  นักศึกษาคิดว่า การสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์เป็นเหมือนการนำเสนอบทความทางวิชาการในที่ประชุมครั้งใหญ่ ถ้าเป็นไปได้  ไม่ควรอ่านจากใช้โน้ตย่อ ควรนำเสนอจากความเข้าใจ ซึ่งไม่น่าจะยาก เนื่องจากเป็นงานของ  นิสิต  นักศึกษาเอง

ขั้นตอนทั่วไปการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  

แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง  เมื่อคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์มาครบ ท่านประธานคุมสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก็จะให้  นิสิต  นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  อาจให้กล่าวเฉพาะประเด็นที่สำคัญ  เช่น  เหตุผลที่เลือกทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น  ความมุ่งหมายของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล) ในขั้นตอนนี้นิสิตนักศึกษาอาจนำเสนอโดยใช้สื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นใส  Power Point   เป็นต้น  การใช้สื่อต่าง ๆ  จะช่วยให้รายงานได้ดี   มีความน่าสนใจ   ในการเตรียมสื่อผู้วิจัยได้มีโอกาสคิดวิธีนำเสนอ  ได้สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญเพื่อนำเสนอ  ช่วยในการจดจำสาระดังกล่าว  และต้องเตรียมแผนสำรองกรณีที่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ไฟฟ้าดับ  เป็นต้น  ข้อสำคัญคือต้องทำการซักซ้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ตรวจสอบการใช้งานจนมั่นใจก่อนถึงเวลาสอบ
ขั้นตอนที่สอง  หลังนิสิต นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  กรรมการสอบจะซักถามข้อสงสัย  สอบถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ทำวิทยานิพนธ์  แม้กระทั่งการทักท้วงโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ  ที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของรายงานการวิจัยเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง  ซึ่งนิสิต  นักศึกษาต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่าตนมีความพร้อมที่จะทำเรื่องนี้  ตอบโดยแสดงความรู้อย่างชัดถ้อยชัดคำ รวมทั้ง แสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม นิสิต  นักศึกษาต้องอ่อนน้อม อ่อนโยน และเคารพกรรมการสอบปกป้อง ถ้าไม่ เข้าใจหรือได้ยินคำถามถูกต้องหรือไม่ สามารถขอให้อาจารย์สอบถามอีกครั้งได้
  คำถามในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ  กรรมการมักจะถามนิสิต  นักศึกษา  ที่ทำวิทยานิพนธ์  มีดังนี้
   –   ทำไมนิสิต ถึงทำเรื่องนี้ ได้ประโยชน์ในด้านใดบ้างหรือได้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
   – ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้มาอย่างไร ทำไมถึงเลือกวิธีการนี้
   – เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
   – สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
   – ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย มีอะไรบ้าง
   – เรื่องที่ทำ คิดว่าจะดำเนินการเสร็จหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่สาม  กรรมการสอบพิจารณาประเมินผลการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์หลังจากการตอบคำถามเสร็จสิ้นแล้ว ประธานกรรมการจะพิจารณาการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่เพิ่งสอบเสร็จไป ปกติแล้วในระดับปริญญาโทหรือเอก อาจารย์จะให้ นิสิต นักศึกษาสอบผ่าน  อาจต้องมีการแก้ไขงานบ้างจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป หลังจากทราบผลการสอบแล้ว ควรกล่าวขอบคุณกรรมการคุมสอบ และควรเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาทันที เพื่อปรึกษาเรื่องการแก้ไขเค้าโครงวิทยานิพนธ์และดำเนินขั้นตอนต่อไป  ส่วนกรณีสอบไม่ผ่าน คือ นิสิต นักศึกษาไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตอบคำถามไม่ได้  คณะกรรมการก็จะเห็นควรให้นิสิต นักศึกษาสอบใหม่อีกครั้ง  ส่วนมากมีน้อยมากหรือไม่มีเลยก็ว่าได้

You might also enjoy

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน บริษัท รีเสิร์ซเชอร์

หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!
หยุดยาวนี้ ไม่ต้องปวดหัว!

มีใครกังวลกับงานของตัวเองในช่วงวันหยุดยาวนี้บ้างคะ? มีแพลนเที่ยวกับครอบครัว มีธุระต้องทำ แต่ก็ติดปัญหา ทำงานไม่ทัน ไม่มีเวลา ไปต่อไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นเล่มวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ

หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!
หยุดยาวไหน ๆ ก็เที่ยวแบบสบายใจ แค่ฝากงานไว้กับเรา!

หมดกังวลกับงานที่ต้องจัดการในช่วงวันหยุด ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าระดับป. ตรี โท เอก พนักงาน รวมถึงองค์กร เตรียมตัวไปพักผ่อนอย่างมีความสุขดีกว่าไหมคะ สอบถาม/ประเมินราคา แอดและทักไลน์ของเราเลย

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย