เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับการกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health Claim) หมายความว่า การแสดงรูป รูปภาพ รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย เครื่องหมายการค้า หรือข้อความใดๆ บนฉลาก ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ส่วนประกอบของอาหาร หรือสารอาหารที่เกี่ยวข้อง กับสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม จําแนกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
- การกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร (Nutrient function claims) หมายความว่า การแสดงสรรพคุณหรือ คุณประโยชน์เกี่ยวกับบทบาทของสารอาหารที่มีผลต่อสรีรวิทยาด้านการเจริญเติบโต การพัฒนา หรือการกระทําหน้าที่ ตามปกติของร่างกาย
ตัวอย่างเช่น แคลเซียมมีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง ผลิตภัณฑ์อาหาร ก. เป็น แหล่งของแคลเซียม เป็นต้น - การกล่าวอ้างหน้าที่อื่น (Other function claims) หมายความว่า การแสดงสรรพคุณหรือคุณประโยชน์ที่ เฉพาะเจาะจง (Specific beneficial effects) ของการบริโภคอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารในบริบทของอาหารทั้งหมดที่ บริโภคเพื่อให้ร่างกายทําหน้าที่ตามปกติ หรือมีกิจกรรมทางชีวภาพเป็นไปตามปกติการกล่าวอ้างในลักษณะนี้เกี่ยวข้องกับ ผลต่อสุขภาพในเชิงบวก หรือเพื่อให้การทําหน้าที่ของร่างกายดีขึ้น หรือเพื่อปรับเปลี่ยน หรือคงสภาวะทางสุขภาพ ตัวอย่างเช่น สาร ก. มีผลต่อ (ระบุผลของสาร ก. ที่มีต่อการปรับปรุง/ปรับเปลี่ยนหน้าที่ทางสรีรวิทยา หรือ กิจกรรมทางชีวภาพของร่างกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเชิงบวก) ผลิตภัณฑ์อาหาร ข. ประกอบด้วยสาร ก.กรัม เป็นต้น
- การกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค (Reduction of disease risk claims) หมายความว่า การ แสดงสรรพคุณหรือคุณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารในบริบทของอาหาร ทั้งหมดที่บริโภค เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค อาการ หรือสภาวะใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การลดความเสี่ยง หมายถึง การเปลี่ยนแปลงปัจจัยเสี่ยงหลัก (Major risk factor) สําหรับโรคหรือสภาวะที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพนั้นๆ อย่างมีนัยสําคัญ ทั้งนี้ โรคแต่ละโรคนั้นมีปัจจัยเสี่ยงอยู่หลายปัจจัย และการเปลี่ยนแปลงของ ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้อาจจะเกิดผลต่อสุขภาพเชิงบวกหรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีสารอาหารหรือสาร ก. ตํ่า อาจลดความเสี่ยงการเกิดโรค ข. อาหาร ค. มีสารอาหาร หรือสาร ก. ตํ่า เป็นต้น
การขอประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพ Health Claim มี 2 วิธี
ต้องมีการออกอบบการศึกษาในมนุษย์ที่มีการออกแบบอย่างดี (Well-designed human intervention study) - กลุ่มการศึกษาต้องเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรเป้าหมาย
- ช่วงระยะเวลาที่เพียงพอของการได้รับสัมผัสและติดตามผลว่าให้ผลเป็นไปตามความมุ่งหมาย
- การแสดงพื้นฐานการบริโภคอาหารของกลุ่มการศึกษา และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เกี่ยวข้อง
- องค์ประกอบและปริมาณของอาหารที่ศึกษาและอาหารอื่นที่บริโภคทั้งหมด ที่มีผลต่อการท าหน้าที่ที่จะกล่าวอ้างทางสุขภาพนั้นๆ
- การตรวจติดตามการปฏิบัติตามข้อก าหนดที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหารหรือส่วนประกอบ ของอาหารภายใต้การทดสอบของอาสาสมัคร
- การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พร้อมทั้งการตีความนัยส าคัญทางสถิติที่เหมาะสม
- ผลการศึกษาอย่างน้อยต้องระบุตัวแปรหรือปัจจัยที่ก าหนด ได้แก่ ชนิดและประเภทของผลิตภัณฑ์ ขนาดหน่วยบริโภค และระยะเวลาที่ท าให้เกิดผลตามความมุ่งหมาย
9.. หากไม่สามารถวัดผลได้โดยตรง เนื่องจากมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรือใช้เวลานาน หรือประเด็นทาง จริยธรรมและข้อจ ากัดด้านทรัพยากร อาจใช้ตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) ที่เหมาะสมแทน
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review) และการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis)
ข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือจากหน่วยงาน องค์กร หรือคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับโดยสากล
1 Scientific committee ของ Codex • European Food Safety Authority (EFSA) • Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN) • Food Standard Australia New Zealand (FSANZ)
2เป็นการรวบรวมหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือโดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบ มีการสืบค้นคัดเลือกและการประเมินคุณภาพของรายงานการศึกษาที่มีรูปแบบการศึกษาเดียวกัน ที่ชัดเจน นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงปริมาณใหม่ด้วยวิธีการทางสถิติ (Meta-analysis)เพื่อให้ได้ข้อสรุปของ ผลการศึกษาที่สนใจ
การศึกษาในมนุษย์ที่มีการออกแบบอย่างดี (Well-designed human intervention study) Health Claims Win-Win Suyvey Market
ฉันทะ คือ ความพอใจ รักในสิ่งที่ทำ – รักงาน รักการทำวิจัย วิริยะ คือ ความพากเพียร – เพิ่มเติมตลอดเวลา จิตตะ คือ ความไม่ทอดทิ้ง – ไม่มีเงื่อนไข ไม่มีข้อแม้ วิมังสา คือ ความสอดส่องในเหตุและผลแห่งความส าเร็จให้ลึกซึ้ง ใช้ปัญญาในการท างาน – เพื่อให้เกิดคุณค่า (Value) ของการท า และสิ่งที่ได้ ทั้งด้านความดี (Ethical value) และความงาม (Aesthetical value)