เทคนิคที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนบทนำงานวิจัย

การเขียนบทนำงานวิจัย หรือ บทที่ 1 ถือว่าเป็นส่วนที่ยากและท้าทายที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นบทแรกที่ผู้อ่านเข้าใจถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาของหัวข้อเรื่องวิจัยที่ทำ ที่จะกล่าวถึงเหตุผลในการทำ คำถามและสมมุติฐานในงานวิจัย ขอบเขตของการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และนิยามศัพท์ บทความนี้ เราจะแนะนำ 5 เทคนิคที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนบทนำงานวิจัย เพื่อให้การทำงานวิจัยในบทที่ 1 สำเร็จได้โดยเร็ว 1. ที่มาและความสำคัญของปัญหา ส่วนแรกของบทนำ จะเป็นการกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของปัญหา คือ การกล่าวถึงสภาพปัจจุบัน เป็นสภาพทั่วไปในสิ่งที่สนใจทำการศึกษาโดยรวมเป็นอย่างไรก่อนที่จะกล่าวถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิด จากนั้นจะเป็นการระบุถึงแนวทางแก้ไขปัญหา และทำการสรุปที่มาและความสำคัญของปัญหา รวมถึงการกล่าวสรุปถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย 2. วัตถุประสงค์ของการทำวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการกล่าวถึงคำถามที่นำไปสู่คำตอบของปัญหาการวิจัยในหัวข้อเรื่องนั้นๆ ระบุหรือกำหนดประเด็นในการทำวิจัย เพราะถ้าหากคุณไม่มีระบุขอบเขตในการทำงานวิจัยให้ชัดเจน จำส่งผลต่อกระบวนการที่เหลือของงานวิจัยของคุณที่ทำให้เกิดความคาดเคลื่อนในการทำงาน และผลลัทพ์ของงสนวิจัยได้ 3. ขอบเขตของการทำวิจัย การกำหนดขอบเขตของการวิจัย กล่าวถึงสิ่งที่ผู้วิจัยกำหนดจำเพาะเจาะจง ว่าสิ่งใดต้องการทำและสิ่งใดที่ไม่ต้องการทำวิจัยในหัวข้อเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวกับประเด็นหลักในหัวข้อเรื่องนั้นๆ ประชากรในการวิจัย พื้นที่ที่ใช้การวิจัย ระยะเวลาที่ทำการศึกษาวิจัย และตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เพื่อให้ผู้วิจัยและผู้อ่านเข้าใจถึงประเด็นปัญหาในการวิจัยได้มากยิ่งขึ้น 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เขียนเรียบเรียงจากวัตถุประสงค์ของการวิจัย หรือขอบเขตของการทำวิจัยที่ได้ทำการศึกษาเพื่อเสนอแนวทางให้เห็นผลลัพธ์ของงานวิจัย และเป็นประโยชน์ที่ในการนำไปใช้ในการทำงาน 5. นิยามศัพท์เฉพาะ คำนิยามศัพท์เฉพาะ เพื่อสื่อสารคำและข้อความที่ใช้ในงานวิจัยในหัวข้อเรื่องนั้นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน ทำให้เกิดความชัดเจนในต่างๆช่องทางติดต่อ และนี่คือ 5 เทคนิคที่ต้องรู้ ก่อนเริ่มเขียนบทนำงานวิจัย ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปปรับใช้นะคะ แล้วคุณจะเขียนงานของคุณได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ Credit: https://bit.ly/3MLuLUF #เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก#สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย#รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย#รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย

หลักการและขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามที่ดี

แบบสอบถาม เป็นรูปแบบของคำถามเป็นชุดๆที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบเพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง หลักการสร้างแบบสอบถาม 1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย 2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ 3. ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ 4. แต่ละความถามควรมีนัย เพียงประเด็นเดียว 5. หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อน 6. ไม่ควรใช้คำย่อ 7. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก 8. ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง 9. หลีกเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ 10. คำตอบที่มีให้เลือกต้องชัดเจนและครอบคลุมคำตอบที่เป็นไปได้ 11. หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง 12. ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามนานเกินไป 13. ข้อคำถามควรถามประเด็นที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย 14. คำถามต้องน่าสนใจสามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากตอบ ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม 1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม 2. ระบุเนื้อหาหรือประเด็นหลักที่จะถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน 3. กำหนดประเภทของคำถามโดยอาจจะเป็นคำถามปลายเปิดหรือปลายปิด 4. ร่างแบบสอบถาม โครงสร้างแบบสอบถามอาจแบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น/ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 ข้อมูลหลักเกี่ยวกับเรื่องที่จะถาม […]

5 เทคนิคในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแจก 5 เทคนิคในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร เพื่อที่จะสำเร็จได้ง่าย และสามารถนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าวนั้นมาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 1. ต้องสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัย การสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยจะทำให้ท่านทราบว่าตัวแปรดังกล่าวนี้มีอยู่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชิ้นใดบ้าง เนื่องจากการกำหนดตัวแปรที่จะใช้ในการวิจัยนั้นมีอยู่ในกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ท่านเพียงแต่นำข้อมูลตัวแปรที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดของการวิจัยของท่านมาสืบค้นทีละตัวแปรเพื่อที่จะให้ได้งานวิจัยแต่ละชิ้นงานที่สอดคล้องกันจนครบทุกตัวแปร เพื่อที่จะหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาสนับสนุนการศึกษาวิจัยตัวแปรดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ 2. คำต้องกระชับและชัดเจน หลายครั้งที่มีการกำหนดชื่อตัวแปรที่ค่อนข้างยาวจึงทำให้เป็นปัญหาต่อการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการจะสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องท่านต้องคิดถึงประเด็นหลักหรือ Keyword ของตัวแปรดังกล่าว  เช่น “ความต้องการต่อการพัฒนา” สามารถสรุปได้สั้นๆ ก็คือ “ความต้องการพัฒนา” ฉะนั้นท่านต้องแยกเป็น 2 ตัวแปร หรือ 2 คำที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ ซึ่งผลลัพธ์จะปรากฏตาม Keyword (คำหลัก) ที่ท่านกำหนดในการสืบค้น ท่านต้องตีความให้ชัดเจนว่าตัวแปรที่ชื่อยาวนี้มี Keyword หลักคืออะไร  อย่างตัวอย่างที่ยกไปข้างต้นคือ “ความต้องการต่อการพัฒนา” – Keyword หลัก คือ “ความต้องการ”  – Keyword รอง คือ “การพัฒนา”  ท่านต้องแยกเป็น Keyword หลัก และ […]

31 แหล่งฐานข้อมูลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ !

1. คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR) 2. คลังความรู้ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ขอบคุณข้อมูลจาก Mr.Chalermdej Taterian) 3. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University Theses 4. ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร NU Digital Repository http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace 5. ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต (DPU e-Theses) 6. ฐานข้อมูล Dspace มหาวิทยาลัยศิลปากร http://www.graduate.su.ac.th/dspace/index.php 7. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ PSU Knowledge Bank มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ http://kb.psu.ac.th/psukb 8. Thai Digital Collection (TDC) 9. Research Gateway Common Service สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) […]

8 เทคนิคเขียนเรียงความให้ปังเร็วและถูกหลักอย่างไม่น่าเชื่อ !

“การเขียนเรียงความ” ถือเป็นหนึ่งในทักษะด้านภาษาที่ทุกคนควรมี เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นการขอทุนสนับสนุน การสมัครเรียนในต่างประเทศ การสัมภาษณ์งาน และแม้แต่การเขียนงานวิทยานิพนธ์ (Thesis) สารนิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ (Independent Study) หรือบทความวิจัยก็ล้วนแต่ต้องใช้ทักษะนี้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม เราเข้าใจดีว่าการเขียนอะไรสักอย่างไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะนอกจากจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักภาษาแล้ว บางครั้งเราอาจความคิดติดตัน ทำให้งานออกมาล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นจนนำไปสู่ความหงุดหงิดใจ ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้คัดตัวช่วยเป็นเทคนิคเจ๋งๆกับ 8 เทคนิค เขียนเรียงความให้ปัง เร็ว และถูกหลักอย่างไม่น่าเชื่อ ! แถมยังนำไปใช้ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย 1. เริ่มต้นเขียนเรียงความให้เร็วขึ้นกว่าที่ตั้งใจไว จะช่วยลดความวิตกกังวล การผัดวันประกันพรุ่ง และช่วยให้คุณมีเวลาในการพัฒนาความคิดของคุณได้มากขึ้น 2. เก็บคำถามของเรียงความไว้ในใจ อย่าลืมติดตามคำถาม หรืองานของคุณ โดยการเก็บสำเนาไว้ในขณะที่คุณร่าง และแก้ไข และกำลังหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับงานของตัวเอง 3. อย่าพยายามที่จะเขียงเรียงความตั้งแต่ต้นจนจบ คุณควรเริ่มต้นเรียงความด้วยสิ่งที่คุณพร้อมที่จะเขียน ไม่ว่าจะเป็นแผนเรียงความ ประโยคสักสองประโยค คุณสามารถเริ่มต้นจากเนื้อเรื่องได้โดยการเขียนทีละย่อหน้า 4. เขียนบทนำและสรุปหลังจากที่คุณเขียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว เมื่อคุณรู้ว่าเรียงความของคุณเกี่ยวกับเรื่องอะไรแล้ว จากนั้นคุณถึงจะสามารถเขียนบทนำ และบทสรุปจากเรื่องนั้นได้ 5. ใช้สัญลักษณ์ในการเขียนของคุณ สัญญาณในเรียงความของคุณจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถทำตามคำสั่ง และไหลไปตามไอเดียของคุณได้ 6. รวบรวมข้อมูลและรายละเอียดของงานเขียนคุณอย่างรอบคอบ เมื่อคุณเขียนเรียงความ […]

6 เทคนิคเตรียมสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis)

ด่านหินมหาโหดอีกด่านที่เหล่าบรรดานิสิตต่างต้องผ่านด่านนี้ไปก็คือ ช่วงของการสอบเค้าโครงวิจัยนี่ละค่ะ ถือว่าเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่นิสิตนักศึกษา ต้องเตรียมความพร้อมอย่างดีเพื่อสอบเค้าโครงวิจัย (Defense Thesis) และการสอบปากเปล่าวิจัย (Oral Thesis) เพราะถือว่าเป็นขั้นตอนที่ยากกว่าขั้นตอนอื่นเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะอะไรนั่นหรือคะ? เพราะเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยของ นิสิต นักศึกษาเอง ซึ่งจะ “รอด” หรือ “ร่วง” ก็ตรงนี้เลย เนื่องจาก “ผู้วิจัยเป็นผู้รู้ที่สุด” ซึ่งถ้า นิสิต นักศึกษาทำด้วยตนเอง ก็ไม่น่าจะมีอะไรหนักใจเท่าไร เพราะการสอบเค้าโครงวิจัย(Defense Thesis) และการสอบปากเปล่าวิจัย (Oral Thesis)เหมือนกับการทบทวนสิ่งที่นิสิต นักศึกษาได้เขียนและลงมือ ทำด้วยตนเอง วันนี้เรามี 6 เทคนิค เตรียมสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis) 1. นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้ง นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้งหนึ่งโดยยึดคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสวนเค้าโครงวิจัย (Defense Thesis) ถ้านิสิต นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเอาใจใส่มาตลอด ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าโครงวิจัยที่ส่งในครั้งนี้เป็นเล่มเค้าโครงวิจัยที่สมบูรณ์เลยจะต้องปรับแก้อีกครั้ง 2. นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้า นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และตรวจดูความเรียบร้อย เช่น เครื่องดื่มหรืออาหารว่างมีหรือไม่ดูสภาพห้องสอบว่าที่นั่งของตนและที่นั่งของคณะกรรมการอยู่ตรงไหน […]

ความสำคัญของการทำวิจัย 5 ข้อ ที่คุณไม่เคยรู้

ความสำคัญของการทำวิจัยนั่นเรียบง่ายกว่าที่เราส่วนใหญ่คิดและหัวใจหลักของการทำวิจัยคือ “วิจัยเพื่อดับทุกข์” ก่อนอื่นเลยเราต้องลองนึกย้อนกลับไปเมื่อหลายร้อยปีก่อนหลายๆสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้จากอดีตจนถึงปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆเทคโนโลยีใหม่ๆที่เราได้เห็นได้ใช้ในทุกวันนี้มันก็เกิดมาจากความสงสัยของใครสักคนที่รู้จักการตั้งคำถามแล้วนำไปสู่การคิดการค้นหาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนได้ข้อสรุปที่ดีที่สุดในตอนนั้นหรือที่เราเรียกว่าการทำวิจัยนั่นแหละค่ะถ้าเทียบกับทางพระพุทธศาสนางานวิจัยก็เปรียบเสมือน “หนทางดับทุกข์” ทำแล้วช่วยให้คลายปัญหาคลายข้อสงสัยและสุดท้ายเมื่อปัญหาถูกแก้สิ่งใหม่ๆก็จะสามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด  แล้วเคยสงสัยค่ะว่าภาครัฐจะออกนโยบายทางการศึกษาหรือทำวิจัยไปเพื่ออะไรทำไมต้องทำและวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆกันกับความสำคัญของการทำวิจัย 5 ข้อที่คุณไม่เคยรู้ดังนี้ 1. ทำวิจัยเพื่อตอบข้อสงสัยของเรา ในชีวิตปกติของเราได้ผ่านการทำวิจัยกันมาแล้วไม่ว่าจะซื้อบ้านซื้อของแต่งงานซื้อรถล้วนแล้วผ่านการทำการสืบค้นหาทางเลือกมาแล้วทั้งนั้นแถมยังมีการเปรียบเทียบต่างๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับตัวเราเราทำวิจัยเพื่อตอบสนองความสงสัยใคร่รู้ของเรานั่นเอง 2. ทำวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ต้องยอมรับค่ะว่าปัจจุบันนี้มีวิทยาการใหม่ๆเพิ่มพูนเกิดขึ้นเยอะมากทั้งด้านทฤษฎีและปฎิบัติดังนั้นจึงต้องมีการทำการวิจัยเพื่อเกิดความเข้าใจปัญหาเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์จะช่วยให้เกิดการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรมขึ้นแถมยังทำให้เราเข้าใจและทำนายปรากฎการณ์และพฤติกรรมต่างๆได้อีก  3. ทำวิจัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ กระตุ้นให้มีเหตุผลรู้จักคิดและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์มีความอยากรู้อยากเห็นอยากทราบเหตุผลและปรากฏการณ์ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นจึงทำการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบสิ่งใดที่พอรู้อยู่บ้างก็ทำให้รู้และเข้าใจดียิ่งขึ้นเป็นการเพิ่มพูนวิทยาการให้กว้างขวางลึกซึ้ง  4. ทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหา เพื่อนำผลที่ได้จากการวิจัยไปวางแผนหรือกำหนดวิธีการในการควบคุมสิ่งต่างๆให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเช่นการวิจัยหาสาเหตุที่ทำให้ผลการเรียนของนักเรียนตกต่างเมื่อพบสาเหตุก็สามารถหาทางควบคุมหรือป้องกันได้ 5. ทำวิจัยเกิดสิ่งใหม่ๆ เป็นการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีใครศึกษามาก่อนแล้วนำมาพัฒนาตอบสนองให้ชีวิตมนุษย์ดีขึ้นอย่างเช่นคอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ทซึ่งเกิดจากแนวคิดนำเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานรวมกันจนมีให้เราได้ติดต่อสื่อสารกันอย่างทุกวันนี้และทั้งหมดนี้ก็คือประโยชน์ของการวิจัยคงจะพอหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมค่ะเมื่อหายสงสัยแล้วมาเริ่มผจญภัยทำความเข้าใจกับงานวิจัยกันต่อเลยค่ะ และทั้งหมดนี้ก็คือความสำคัญของการทำวิจัย 5 ข้อที่คุณไม่เคยรู้คงจะพอหายสงสัยกันแล้วใช่ไหมค่ะถ้าเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่าลืมแชร์ให้เพื่อนๆด้วยนะคะ

6 ประโยชน์ที่ได้จากการว่าจ้างทำวิจัย

“หากจ้างทำงานวิจัย แล้วผู้วิจัยจะได้ประโยชน์อะไรจากงานวิจัย?” เป็นข้อคำถามที่ผู้วิจัย หรือผู้เรียนหลายๆ ท่าน กำลังลังเลว่า ถ้าหากตัดสินใจว่าจ้างบริษัททำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์ นั้น ผู้วิจัยหรือผู้เรียนจะได้อะไรจากการว่าจ้างทำงานวิจัยบ้าง… ซึ่งในบทความต่อไปนี้ ทางเรามี 6 ประโยชน์ที่ได้ จากการว่าจ้างทำวิจัย มาแนะนำให้คุณเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการตัดสินใจ สำหรับการว่าจ้างทำงานวิจัยดังนี้  1. ช่วยลดต้นทุนการทำงานวิจัย เนื่องด้วย บริษัทรับทำวิจัยนั้นมีทีมงานที่มีความชำนาญเป็นมืออาชีพ รวมถึงเครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ วิเคราะห์แปลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการแสดงผลที่เที่ยงตรง มีแหล่งฐานข้อมูลที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และด้วยประสบการณ์ในด้านการทำงานวิจัย ทำให้สามารถวางแผนในการคำนวณประเมินค่าใช้จ่ายสำหรับการทำงานวิจัยได้อย่างรัดกุม  ช่วยลดภาระในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการทำงานวิจัย ช่วยในการกำหนดต้นทุน หรืองบประมาณที่ต้องการใช้ในการทำงานวิจัยได้อย่างชัดเจน ในส่วนรายจ่ายที่ยิบย่อยต่างๆ  รวมถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิดจากความผิดพลาดจากการทำงานวิจัยของคุณให้น้อยที่สุด 2. มีที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลงานวิจัย เพราะการทำงานวิจัยเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อนมาก มันจะดีแค่ไหนหากคุณมีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ด้านการทำวิจัย คอยให้คำปรึกษาในการทำงานวิจัยให้กับคุณ ช่วยให้คุณทำงานวิจัยเสร็จทันตามเวลาที่กำหนด และมีความถูกต้องตามหลักการวิจัย ฉะนั้นในการว่าจ้างบริษัทรับทำงานวิจัยนั้น คุณจะได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัย เริ่มตั้งแต่การช่วยเขียนโครงร่างงานวิจัย สืบค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่สอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านทำการศึกษา ค้นหาแนวคิดและทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง หรือวิเคราะห์เครื่องมือที่ต้องใช้สำหรับการทำงานวิจัย เป็นต้น มีการวางแผนการทำงานที่เป็นระบบระเบียบ ตามหลักวิชาการและระเบียบวิธีวิจัย มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ และงานเสร็จทันตามกำหนดเวลา 3. ช่วยในการจัดสรรและบริหารเวลา ในการว่าจ้างทำงานวิจัยจะช่วยให้คุณสามารถบริหารเวลาและประหยัดเวลาในการทำงานวิจัยได้ดีขึ้น […]

3 สิ่งที่ต้องรู้เพื่อทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จ

การทํางานวิทยานิพนธ์แต่ละครั้ง สิ่งจําเป็นที่ผู้วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ต้องคำนึงเป็นสิ่งสำคัญ มี 3 ปัจจัย คือ  1. ควรเลือกหัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองถนัด หัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มพิจารณาเป็นอันดับแรก เนื่องจาก การเลือกสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือสนใจนั้น จะทำให้ผู้วิจัยสามารถทำการค้นคว้าบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของตนเองได้เป็นอย่างดี แต่… มีหลายครั้งหรือหลายกรณีที่ผู้วิทยานิพนธ์ได้ทำหัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่ตนเองไม่ถนัด  สาเหตุมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ เพราะสิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ กับสิ่งที่ตนเองสนใจนั้น ไม่สอดคล้อง หรือว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จีงอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของงานวิทยานิพนธ์ได้  ฉะนั้น หากจะทํางานวิทยานิพนธ์ให้สําเร็จ จําเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์จากความต้องการของตนเองเป็นหลักก่อน 2. ควรเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง หัวข้อที่สอง คือ ต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง สามารถพูดคุย ให้คำแนะนํา สามารถจัดสรรแบ่งเวลาให้กับผู้วิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจาก อาจารย์ที่ปรึกษางานวิทยานิพนธ์แต่ละท่านนั้น จะมีความถนัดแตกต่างกัน…  ดังนั้น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากในการทำงานวิทยานิพนธ์ หากสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คําแนะนําหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ตนเอง มีความถนัดในสำหรับการให้คำปรึกษาแนะนำถึงหัวข้อประเด็นที่ตนเองสนใจดังกล่าวได้มากน้อยเพียงไร จะสามารถทําให้งานวิทยานิพนธ์สําเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย 3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ประเด็นที่สามคือ ต้องทําการศึกษา “ตัวแปร” หัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยการศึกษาจากงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทําการศึกษา เนื่องจาก การศึกษาตัวแปรจากตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ ทฤษฎีแนวคิด หรือตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์จากต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาสนับสนุนกับงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองสนใจ ซึ่ง […]

10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก

การไปเรียนต่อเมืองนอกนั้นก็เป็นความฝันของใครหลายๆ คน แต่จะมั่นใจใน ‘ความพร้อม’ ของตัวเองได้ยังไง เพราะการไปเรียนต่อก็เหมือนการไปใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ สักที และไม่ได้ไปแบบระยะสั้น ดังนั้นการโยกย้ายครั้งนี้จึงสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตทั้งภายในและภายนอก วันนี้ Researcher Thailand เลยนำ 10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก เพื่อสำรวจตัวเองคร่าวๆ ว่าตัวเองพร้อมไปเรียนต่อต่างประเทศแล้วหรือยัง 1. อยากไปเรียนต่อหรือไปเมืองนอก?      บางครั้งเราอาจอยากหนีชีวิตปัจจุบันไปไกลๆ การเรียนต่อก็เป็นหนึ่งในวิธีหนีที่ดี อาจเป็นเพราะเบื่องานประจำ เบื่อสภาพแวดล้อมเดิมๆ อยากออกจาก comfort zone ของตัวเอง ฯลฯ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องคิดใหม่ เพราะถ้าหากไม่ได้มีสาขาที่สนใจจริงๆ การเรียนต่ออาจไม่ใช่ทางออกเลย ไหนจะต้องเรียนกับสิ่งที่คิดว่าเรียนๆ ไปตั้ง 2-3 ปี แนะนำว่าให้ถามตัวเองให้ดีๆ ก่อนว่าอยากเรียนรู้ต่อในสาขาอะไร ถ้าชัดเจนแล้วก็เริ่มเลย! แต่หากในกรณีที่เราคิดแล้วรู้สึกว่าจริงๆ แล้วไม่ได้อยากเรียนระยะเวลายาวขนาดนั้น คอร์สระยะสั้นไม่กี่เดือนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศอาจจะเป็นทางออกก็ได้ 2. พร้อมจะเริ่มเตรียมตัวเมื่อไหร่?     ช่วงการตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอกของหลายๆ คนอาจจะไม่เท่ากัน บางคนก็คิดไว้ตั้งแต่ยังเรียนปริญญาตรี บางคนนึกปุบปับเรียนจบปุ๊บอยากไปเลย บางคนรอเวลาขอทำงานก่อนค่อยทำเอกสารสมัครเรียนเมื่อเป็นแบบนี้จึงต้องพิจารณาว่าตัวเองอยู่จุดไหน ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพแบบนี้   […]