10 แอปพลิเคชันช่วยให้การเรียนออนไลน์ง่ายขึ้น

การเรียนออนไลน์อาจมีอุปสรรคในหลายด้าน เช่น จดโน้ตไม่ทัน งานเยอะขึ้น หรือแม้แต่ความสนใจในการเรียนและความจำลดลง แต่ไม่ต้องกังวลไปสมัยนี้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้น และวันนี้เรามี 10 แอปพลิเคชัน ช่วยให้การเรียนออนไลน์ง่ายขึ้น มาฝากค่ะ Goodnotes : จดโน้ตให้สนุกขึ้น  แอปพลิเคชันที่จะช่วยให้การจดโน้ตของทุกคนเป็นเรื่องที่ง่ายและสนุกขึ้น มีฟีเจอร์ให้เล่นหลากหลายเพื่อทำให้การจดโน้ตของทุกคนมีสีสันยิ่งขึ้น หากใครไม่ชอบเขียนก็สามารถพิมพ์ตัวหนังสือแทนได้เช่นกัน Notability : จดโน้ตพร้อมเสียงสะดวกสุดๆ  เจ้า Notability นั้นมีฟังก์ชันค่อนข้างคล้ายกับ Good Note แต่ว่าฟีเจอร์เด็ดของมันคือ ฟีเจอร์บันทึกเสียงระหว่างจดโน้ตได้ ถ้าใครจดโน้ตไม่ทันระหว่างอาจารย์สอนออนไลน์ก็สามารถอัดเสียงเก็บไว้ฟัง แถมยังสามารถเปิดฟังระหว่างที่กลับมาอ่าน Lectureได้อีกด้วย Canva : สร้าง Presentation สุดปัง  สำหรับแอปฯ Canva นี้สามารถช่วยทำพรีเซนต์ให้สวยงามมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมี Template มากมายให้ดาวน์โหลดใช้ซึ่งแต่ละ Template สวยๆ ทั้งนั้นเลยสามารถใช้ได้ทั้งบน Tablet, Smartphone และ Website Browser ได้อีกด้วยใช้ได้ทั้ง iOS และ Android  แชร์สไลด์เพื่อทำงานร่วมกับเพื่อนได้อีกด้วยนะ Google […]

10 เทคนิคง่ายๆสำรวจตัวเองให้ชัวร์ก่อนตัดสินใจเรียนต่อ !!

เมื่อไฟในการอยากเรียนกลับมาอีกครั้งซึ่งไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่มักถามตัวเองคือจะเรียนอะไรดีนะ?? ก่อนที่คุณจะตัดสินใจวางมือจากทุกอย่างที่ทำอยู่ แล้วเลือกไปเรียนศึกษาต่อ ต้องสำรวจให้แน่ใจก่อนว่าคือสิ่งที่ต้องการจริงหรือไม่ ลองใช้ 10 เทคนิคง่ายๆ สำรวจตัวเองให้ชัวร์ ก่อนตัดสินใจเรียนต่อ!! ดังต่อไปนี้ได้เลย 1. ถามตัวเองก่อน สิ่งแรกที่ต้องถามตัวเองคือเหตุผลที่คุณอยากไปเรียนต่อปริญญาโท เรียนเพราะต้องการความก้าวหน้าในอาชีพ? หรือต้องการที่จะเจาะลึกข้อมูลเฉพาะอย่าง? หรืออยากเรียนเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้? ไม่ว่าเหตุผลนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม แต่การถามตัวเองให้แน่ใจจะสามารถช่วยให้การตัดสินใจแคบลงกว่าเดิม 2. พิจารณาถึงวิธีการ สิ่งหนึ่งที่ต้องรู้ไว้คือการศึกษาในระดับปริญญาโทนั้นย่อมแตกต่างจากปริญญาตรีอยู่แล้ว ทั้งโครงสร้างและวิธีการต่างก็เป็นเรื่องที่คุณยังไม่ทราบมาก่อน ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าในเรื่องหลักสูตรและวิธีการ 3. ทำการสำรวจ เป็นวิธีการเพื่อเจาะลึกและสำรวจทางเลือกของตัวเองอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่าเพิ่งเอาแต่ข้อมูลในหน้าเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเป็นใหญ่ ลองค้นหารีวิวและความคิดเห็นของนักเรียน หรือถ้าเป็นไปได้ก็ลองพูดคุยกับนักเรียนที่ยังศึกษาอยู่จะดีที่สุด 4. เข้าหาอาจารย์ การเข้าร่วมงาน graduate fairs และงาน open days จะเป็นงานที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่กำลังมองหาแนวทางเรียนต่อ นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ได้พบปะผู้คนที่มีความสนใจในหลักสูตรเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกันและกัน 5. ต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายได้ ค่าใช้จ่ายในแต่ละมหาวิทยาลัยมีราคาต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งโดยภาพรวมการศึกษาระดับปริญญาโทค่าใช้จ่ายไม่ธรรมดาแน่ๆ ดังนั้นก็ต้องพิจาณาให้ถี่ถ้วนว่าคุณจ่ายไหวหรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังมีทางออกสำหรับเรื่องนี้ เพราะมีทุนการศึกษามากมายและแหล่งให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไว้เป็นทางออกสำหรับคุณ 6. พิจารณาเรื่องระยะเวลาหลักสูตร ระยะเวลาของหลักสูตรขึ้นอยู่กับประสบการณ์ คุณสมบัติ และวัตถุประสงค์ของการเรียน ซึ่งการเรียนปริญญาโทส่วนใหญ่มีระยะเวลาที่ต่างหัน บางที่ก็ 1-2 […]

เทคนิคใช้ Google Scholar เพื่อค้นหางานวิจัย

ค้นหาข้อมูลกับ Google Scholar ได้อย่างไร? คุณสามารถค้นหาข้อมูลได้หลายวิธีใน Google Scholar หากคุณรู้ว่าใครเป็นผู้เขียนของข้อมูลที่คุณต้องการลองใช้ชื่อ เช่น barbara ehrenreich นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาตามชื่อสิ่งพิมพ์ที่คุณกำลังค้นหาหรือเพิ่มการค้นหาโดยการเรียกดูหมวดหมู่ในส่วน การค้นหาขั้นสูง นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหาโดยเรื่อง; ตัวอย่างเช่นการค้นหาคำว่า “exercise” ทำให้ผลการค้นหามีความหลากหลาย ผลการค้นหาของ Google Scholar หมายถึงอะไร คุณจะสังเกตเห็นว่าผลการค้นหาของคุณใน Google Scholar ดูแตกต่างจากที่คุณคุ้นเคย คำอธิบายอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับผลการค้นหา Google Scholar ของคุณ: ชื่อเรื่องที่เชื่อมโยงกันของบทความจะเป็นบทความเต็มรูปแบบ (ถ้ามี) หรือบทคัดย่อ (ฉบับย่อ) ” อ้างโดย “; นี่คือจำนวนการเรียกใช้เอกสารหรือบทความอื่น ๆ ที่อ้างถึงบทความนั้น ๆ (นี่เป็นวิธีที่ดีในการค้นหาบทความในสาขาที่คุณสนใจมากขึ้น) ลิงก์ในไลบรารีหรือฐานข้อมูลภายนอก: ในผลการค้นหา Google Scholar บางอย่างคุณอาจเห็นลิงก์ไปยัง “library search” หรือ “find it” (ใส่ชื่อห้องสมุดที่นี่) นี่เป็นเพียงการบอกคุณหากห้องสมุดในพื้นที่ของคุณมีสำเนาออนไลน์หรือออฟไลน์ที่คุณต้องการหากฐานข้อมูลข้อมูลมีหรือถ้ามหาวิทยาลัยที่คุณกำลังค้นหาด้วย Google Scholar […]

7 เทคนิคสำคัญในการพรีเซนต์งานให้ปัง

การนำเสนอผลงานในรูปแบบพรีเซนต์ทั้งช่วงวัยเรียนจนมาถึงช่วงทำงาน ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีกระบวนการเรียนรู้และฝึกฝนจนสามารถสร้างสรรค์และนำเสนอพรีเซนต์ให้น่าสนใจและเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ หากคุณต้องการพรีเซนต์แบบมืออาชีพที่ทั้งโดดเด่นและเปี่ยมด้วยความหมาย วันนี้ แมนพาวเวอร์ รวบรวม 7 เทคนิคสำคัญในการพรีเซนต์งานให้ปัง พร้อมพิชิตใจเจ้านายและลูกค้า ให้คุณได้เรียนรู้ พร้อมเตรียมพร้อมก่อนสู่สนามพรีเซนต์จริง 1. เริ่มด้วยการตั้งโจทย์ ในการนำเสนอผลงานโดยต้องกำหนดและวางเป้าหมาย พร้อมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน รวมทั้งข้อดีและประโยชน์ของการจัดทำผลงานนี้ เพราะคนส่วนใหญ่อาจไม่สนใจว่าคุณทำอะไร แต่อาจสนใจว่าคุณ ทำเพราะอะไร และมีประโยชน์อย่างไร 2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง โดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มผู้ฟังและทำความรู้จักให้มากที่สุด เพื่อจะได้เอื้อประโยชน์ในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟัง หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้างจะทำให้การพรีเซนต์มีชัยไปกว่าครึ่ง รวมถึงสไตล์การพูดต้องเลือกปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังเพราะวัยต่างกันภาษาและสไตล์การพูดจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ 3. นำเสนอด้วยภาพให้เข้าใจได้ง่ายและคงความเรียบง่าย ในการเลือกภาพเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะต้องเป็นที่จดจำให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากเลือกใช้ภาพที่สื่อความได้ดีและน่าสนใจจะทำให้ผู้ฟังเข้าใจและจำได้ นอกจากนี้ควรเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่จำนวนมากเกินไป และควรใส่ข้อความในแต่ละสไลด์ให้กระชับและชัดเจน 4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว การพรีเซนต์งานแล้วใส่ข้อมูลและตัวเลขจำนวนมากอาจจะทำให้ดูว่ามีการหาข้อมูลและความรู้ แต่อาจจะไม่มีใครจดจำสิ่งที่คุณพูดได้ ซึ่งในทางตรงกันข้ามการบอกเล่าด้วยเรื่องราวและเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า นอกจากนี้ในการพรีเซนต์คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรทำโน้ตสั้นๆ เพื่อช่วยให้จำเนื้อหาที่จะพรีเซนต์และพูดอย่างเป็นธรรมชาติไม่ใช่การท่อง 5. ฝึกพรีเซนต์เพื่อเตรียมความพร้อม หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้คล่องและจดจำรายละเอียดอย่างเข้าใจ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลำดับเนื้อหาในสไลด์ให้ดี ซึ่งคุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะทำการฝึกซ้อม แล้วนำมาดูทบทวนและเช็คข้อบกพร่อง พร้อมนำมาปรับแก้ไขให้ดีในวันพรีเซนต์ ในกรณีที่คุณต้องพูดคนเดียวนานๆ ผู้ฟังอาจเบื่อหน่ายลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมกับงานพรีเซนต์ดูบ้าง […]

6 เคล็ดลับจัดเวลาในการทำวิทยานิพนธ์

หากคุณเป็นนักศึกษาระดับปริญญาปริญญาตรีปีสุดท้ายหรือนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มันถึงเวลาของปีที่คุณกำลังวางแผนหรือเริ่มต้นการเขียนวิทยานิพนธ์ การเขียนวิทยานิพนธ์ของคุณอาจเป็นประสบการณ์ที่เครียดและกดดันในเรื่องของเวลา แต่เพียงแค่คุณไม่จัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อคุณเริ่มคิดเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ของคุณ คุณอาจรู้สึกเหมือนว่าคุณมีเวลาอยู่เยอะ แต่กว่าจะวางแผนการเขียน หาข้อมูลและเริ่มเขียนนั้น วันกำหนดส่งนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อมแล้ว หากคุณไม่รู้จะทำอย่างไรให้เขียนทันเวลา ลองทำตามคำแนะนำ 6 เคล็ดลับ จัดเวลาในการทำวิทยานิพนธ์ ทั้ง 6 ข้อของเรา 1. สร้างตารางวันสำหรับการทำวิทยานิพนธ์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็นในปฏิทินกระดาษหรือบนโทรศัพท์ การมีไทม์ไลน์เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการติดตามความคืบหน้าของคุณในการทำไทม์ไลน์ของคุณโดยแบ่งวิทยานิพนธ์ของคุณออกเป็นหลายส่วนและกำหนดช่วงเวลาโดยประมาณที่คุณต้องการให้แต่ละส่วนเสร็จสิ้น การตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงสามารถช่วยให้คุณรู้สึกมีแรงบันดาลใจและเครียดน้อยลงเพราะเป็นการได้แบ่งการทำวิทยานิพนธ์ออกเป็นส่วนๆ แทนที่จะปล่อยให้ทุกอย่างล้มหลามออกมาและทำให้เป็นกังวล 2. จัดเวลาการเขียนวิทยานิพนธ์ คุณไม่จำเป็นต้องเขียนวิทยานิพนธ์ของคุณทั้งวันทั้งคืน ตราบใดที่คุณทำอย่างสม่ำเสมอ ตั้งเวลาเพื่อทำงานเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ของคุณ ให้เหมือนกับการทำกิจวัตรประจำวันของคุณ เช่น การออกกำลังกายที่ยิม เป็นต้น ในขณะที่การใช้เวลาในการทำวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งสำคัญที่ควรระลึกไว้เสมอว่ามันเกี่ยวกับคุณภาพของงานที่คุณทำ ไม่ใช่ซะทีเดียวที่จะเกี่ยวกับจำนวนชั่วโมงที่คุณใช้ทำงานกับวิทยานิพนธ์ บางคนทำงานได้ดีกว่าในตอนเช้า บางคนเขียนได้ดีกว่าในช่วงกลางคืน ลองใช้ช่วงเวลาที่คุณทำงานได้อย่างประสิทธิภาพเพื่อเขียนออกมา 3. การหาข้อมูล เริ่มต้นด้วยการลิสแหล่งข้อมูลที่คุณต้องการใช้ในการทำวิทยานิพนธ์ นำคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาและไปที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเพื่อดูว่าหนังสืออะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ หรือใช้แหล่งข้อมูลออนไลน์ด้วย Google scholar ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการค้นคว้าสิ่งเหล่านี้ ขั้นตอนต่อไปคือการเริ่มอ่านข้อมูลต่างๆ ตรวจสอบให้แน่ใจเพื่อจดบันทึกเนื้อหาสำคัญ หัวข้อและหมายเลขหน้า สิ่งนี้จะทำให้ง่ายขึ้นมากในอนาคตเมื่อคุณย้อนกลับไปและอ้างอิงแหล่งข้อมูลเหล่านี้ 4. จัดลำดับความสำคัญ การจัดลำดับความสำคัญเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อพูดถึงการเขียนวิทยานิพนธ์ ตัดสินใจว่างานที่สำคัญที่สุดคืออะไร และทำให้งานมีความสำคัญสูงสุด (ดูที่ไทม์ไลน์ของคุณเพื่อดูว่าส่วนใดที่ต้องทำให้เสร็จก่อน) […]

รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําสารนิพนธ์ รับทําวิจัย รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำ is ราคาถูก คุณภาพสูง

researcherthailand

ศูนย์บริการให้คำปรึกษา รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำ is รับทำงานวิจัย รับทำรายงาน การบ้าน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รับทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก คุณภาพสูง รับทําวิจัย ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ รับปรึษาวิทยานิพนธ์ รับปรึกษางานวิจัย ทางเรามีบริการ รับจ้างทำวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตามสาขาดังนี้ รับทำวิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ การตลาด รับทําวิทยานิพนธ์ การโรงแรมและการท่องเที่ยว บัญชี การเงิน วิศวกรรม การจัดการ กฏหมาย เป็นต้น ประสบการณ์กว่า 10 ปี ทีมงานวิจัยกว่า 10 ท่าน มีความเชี่ยวชาญแต่ละสาขา รับทำวิทยานิพนธ์ ภาษาอังกฤษและภาษาไทย รับทั้งงานในประเทศและต่างประเทศ รับทําวิทยานิพนธ์ ราคาเท่าไร (ราคามาตรฐาน ราคาไม่แพง ราคาถูก )รับทำวิทยานิพนธ์ เชื่อถือได้ไหม […]

ปริญญาโทจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

researcherthailand

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดสอนระดับปริญญาโทดังนี้ คณะครุศาสตร์      ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) Master of Education (M.Ed.) มี 21 สาขาวิชาได้แก่      1. การศึกษาปฐมวัย(Early Childhood Education)       2. ประถมศึกษา (Elementary Education)       3. พลศึกษา (Physical Education)      4. สุขศึกษาและพลศึกษา (Health and Physical Education)       5. การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ (นานาชาติ) (Teaching English as a Foreign Language)      6. การศึกษาคณิตศาสตร์ (Mathematics […]

7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์มีความสำคัญยิ่งเพราะช่วยให้งานเสร็จเร็ว ได้ข้อสรุปส่งให้ผู้รับทำได้ไวและตรงประเด็น จากประสบการณ์รับทำวิทยานิพนธ์และรับติวให้นักศึกษามา การทำวิทยานิพนธ์มี 7 ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ที่ถูกต้องดังนี้ 1. กำหนดชื่อเรื่อง : เป็นชื่อที่คุณสนใจ ถนัด และอยู่ในสาขาที่เรียน หากยังไม่ทราบ ให้ดูหัวข้อจาก วิทยานิพนธ์ที่รุ่นพี่ทำไว้แล้วให้ดูในบทที่ 5 ในส่วนของข้อเสนอแนะสำหรับ การทำวิทยานิพนธ์ครั้งต่อไป จะทำให้ทราบชื่อเรื่องที่น่าสนใจ และกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยตามชื่อเรื่องนั่นเอง ส่วนประโยขน์ที่คาดว่าจะได้รับจะเป็นการเขียนว่า เมื่อวิจัยเรื่องนี้แล้ว วิทยานิพนธ์ให้ประโยชน์อะไร กับใคร และเอาไปใช้ได้อย่างไร 2. ศึกษาวิทยานิพนธ์เก่า ๆ ที่มีคนทำไว้แล้ว : ขั้นตอนนี้เรียกว่า Literature Review หรือเรียกว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษาทฤษฎีซึ่งดูจากหัวข้อหรือชื่อเรื่องที่เราศึกษา ดูว่ามีทฤษฎีอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง และศึกษางานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่มีคนทำไว้แล้ว ในหัวเรื่องที่เหมือนกันหรือคล้ายใกล้เคียงกัน 3. กรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์ : ในการทำวิทยานิพนธ์ถือว่าเป็นปัญหาหลักสำหรับนักวิจัยมือใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์มากนัก การกำหนดกรอบแนวคิดมีหลายรูปแบบ ทั้งการกำหนดแบบตัวแปรต้นและตัวแปรตาม และการกำหนดกรอบแนวคิดตามเนื้อหาของการวิจััยกรอบแนวคิดถือเป็นหัวใจหลักของการวิจัยเลยทีเดียว จึงต้องปรึกษาผู้รู้หรืออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อกำหนดกรอแนวคิดที่ถูกต้อง จะเป็นแนวทางในการทำวิจัยแบบไม่หลงประเด็น 4. กำหนดขอบเขตของการศึกษาวิทยานิพนธ์ : ในที่นี้ขอบเขต ประกอบด้วย – […]

5 เทคนิค ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง ในบทความนี้เราจะแชร์ 5 เทคนิค ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร เพื่อที่จะสำเร็จได้ง่ายมาฝากค่ะ 1.         ต้องสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัย การสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยจะทำให้ท่านทราบว่าตัวแปรดังกล่าวนี้มีอยู่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชิ้นใดบ้าง เพียงนำข้อมูลตัวแปรที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดของการวิจัยของท่านมาสืบค้นทีละตัวแปรเพื่อที่จะให้ได้งานวิจัยแต่ละชิ้นงานที่สอดคล้องกันจนครบทุกตัวแปร 2.         การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คำต้องกระชับและชัดเจน ท่านต้องคิดถึงประเด็นหลักหรือ Keyword ของตัวแปรดังกล่าว เช่น “ความต้องการต่อการพัฒนา” สามารถสรุปได้สั้นๆ ก็คือ “ความต้องการพัฒนา” ฉะนั้นท่านต้องแยกเป็น 2 ตัวแปร หรือ 2 คำที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ อย่างตัวอย่างที่ยกไปข้างต้นคือ “ความต้องการต่อการพัฒนา” – Keyword หลัก คือ “ความต้องการ” – Keyword รอง คือ “การพัฒนา” ท่านต้องแยกเป็น Keyword หลัก และ Keyword รอง เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย เพื่อค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านต้องการศึกษาได้ 3.         หาคำพ้องที่มีความหมายคล้ายคลึงกันเพื่อสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนา ก็จะมี Keyword […]

6 เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ

เคยไหม? ตั้งใจที่จะเข้ามาเรียนให้จบ แต่พอเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ก็เริ่มมีปัญหาหลายๆอย่างรุมเร้าจนแอบคิดในใจและคุยกับตัวเองว่า “จะเรียนไหวไหมนะ” “ไปต่อหรือถอย” “จะเสียเวลาไหม” “เอาจริงๆก็อยากเรียนให้จบนะ” และสุดท้ายก็รู้สึก เศร้า ซึม เหนื่อย ท้อ งานไม่เดิน เริ่มหลุดจากระบบการเรียนที่วางแผนไว้ จนไม่รู้จะทำยังไงดี ฉะนั่น บทความนี้ได้รวบรวมวิธีแก้ง่ายๆที่คุณสามารถทำได้ทุกวันที่จะช่วยประคองให้คุณมีแรงบันดาลใจ เพื่อดึงสติตัวเองให้ไปต่อได้ดียิ่งขึ้นกับ 6 เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ มีอะไรบ้างไปไล่ดูกันเลย เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ : 1. รับสารดีๆ เข้ามาในชีวิต เหล่าผู้มีแรงจูงใจสูง จะคิดถึงหลักการ “ขยะเข้า – ขยะออก” เป็นพิเศษ แทนที่จะรับข่าวสารลบๆ ละครน้ำเน่าในทีวี หรือ เรื่องราวอันสลดหดหู่ในเฟสบุ๊ค เขาจะเลือกเปิดรับข้อมูลความคิดในแง่บวก หรือแรงบันดาลใจดีๆ มันไม่ได้เป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ แต่เป็นการเลือกที่จะมอง ไม่ใช้เวลาและพลังงานไปกับข่าวสารลบๆ แค่นั้นเอง เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ : 2. การเขียนเป้าหมาย แน่นอน! การเขียนเป้าหมาย คือหนทางที่ดีที่สุด ในการพัฒนาวิธีการคิด ทั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวเหล่าผู้มีแรงจูงใจสูง จะเขียนมันลงไป […]