การศึกษาในระดับปริญญาโทนั้น ยังมีหลายๆ คนสงสัยในการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการของเรา ดังนั้นเราขอนำความเห็นจากหลายๆ แหล่งมาประมวลมาให้อ่านกัน ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้ได้ตัดสินใจกันและหวังว่าคงมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่มากก็น้อย และสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อนว่า “เราจะเรียนต่อในระดับปริญญาโททำไม? เรียนเพื่อไปทำอะไร?” แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) และ แผน ข (การค้นคว้าอิสระ)หลักสูตรในแผน ก เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต)โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อ ในระดับสูงขึ้นหรือปริญญาเอก (ดร.) ในโอกาสต่อไป โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐาน TCI ฐาน 2 ขึ้นไป จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิชาการ อาจารย์ หรืออาจเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ (เป็นการเรียนเชิงลึก) เหมาะกับผู้ที่ชอบการค้นคว้าทำวิจัยหลักสูตรในแผน ข เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “การค้นคว้าอิสระ” (6 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเช่นเดียวกัน เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษางานวิจัย เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ หรือสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์หรือการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้จะเลือกแผนไหนนั้นขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เรียนบางสาขา การทำวิทยานิพนธ์จะมีประโยชน์มากกว่าการค้นคว้าอิสระการวางอนาคต ถ้าต้องการต่อปริญญาเอกหรือทำงานในสายงานวิชาการ วิจัย อาจารย์ การทำวิทยานิพนธ์จะเป็นการฝึกฝนและเตรียมความพร้อมที่ดีมากความถนัดและความชอบส่วนบุคคล ต้องมีเวลาที่จะศึกษาหาข้อมูลเต็มที่อย่างไรก็ตาม จะเลือกแผนไหนก็ได้ แต่ต้องให้ได้ตรงตามเป้าประสงค์ในอนาคตของเรา […]
การจ้างทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้แปลว่า “โง่”
บทความนี้คุณอาจตกใจนิดหน่อยกับคำว่า “โง่” แต่ขอบอกเลยว่าเมื่ออ่านบทความนี้คุณจะเข้าใจว่าทำไมคนที่จ้างทำวิทยานิพนธ์ หรือว่าจ้างทำวิจัยอื่นๆ ถึงไม่ได้โง่ ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณลองตอบคำถามที่เราจะถามต่อไปนี้สัก 2-3 ข้อ เรามาเริ่มตอบคำถามเหล่านี้ทีละข้อกันดีกว่า เพื่อพิสูจน์ว่าคนจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น ไม่ได้โง่ !!! 1. ใบปริญญาบัตรที่ได้นั้นจากการศึกษานั้น ได้จากการทำงานวิจัยอย่างเดียวใช่หรือไม่? ในการจบการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัย โดยได้รับใบปริญญาบัตรและได้สวมชุดครุยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ thesis เพียงอย่างเดียว ในการเรียนมหาวิทยาลัยมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องเชื่อมโยงกันจึงจะสามารถจบจากรั้วมหาวิทยาลัยได้ ไม่ว่าจะเป็นการจบชั้นปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก นักศึกษาทุกคนต้องเข้าคลาสเพื่อเรียนเอาความรู้ไปใช้ในการสอบ ในการจะจบปริญญาท่านต้องสามารถเข้าใจเนื้อหา และสอบผ่าน ท่านต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้มาให้ได้ก่อน ท่านจึงจะได้ทำ thesis หากท่านไม่สามารถสอบผ่านไม่เข้าใจบทเรียนท่านคนถูกรีไทร์ออกไปนานแล้วใช่หรือไม่ 2. หากผู้ว่าจ้างบริษัทรับทำวิจัยไม่ตรวจสอบผลงานวิจัย จะสามารถตอบคำถามอาจารย์ที่ปรึกษา และผ่าน thesis ได้ไหม? การจ้างทำวิจัยถ้าสักแต่ว่าจะจ้างให้บริษัททำอย่างเดียว โดยที่ตัวผู้จ้างไม่ไม่มีความรู้ในการทำวิจัยอยู่เลย อีกทั้งยังไม่ศึกษางานวิจัยที่ทางบริษัทส่งไปให้ จะไม่สามารถตอบคำถามอาจารย์ที่ปรึกษาได้ และจะส่งผลให้ไม่ผ่าน thesis การที่ผู้ว่าจ้างจะจ้างให้บริษัททำงานวิจัยให้สักชิ้น ผู้ว่าจ้างต้องเป็นผู้กำหนดแนวทางการทำงานมาอย่างคร่าวๆ ให้บริษัทรับทำวิจัยเข้าใจและทำงานวิจัยออกมาให้ตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งการว่าจ้างทำวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นผู้กำหนดหัวข้องานวิจัย รวมไปถึงกำหนดกรอบแนวคิดและรายละเอียดที่ต้องการให้บริษัทรับทำวิจัยทราบ เพื่อให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งผู้จ้างทำวิจัยต้องมีความรู้ ตรวจสอบงานได้ ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหางานวิจัยที่ทางบริษัทส่งไปให้ และสิ่งสำคัญผู้จ้างทำวิทยานิพนธ์จะต้องสามารถทำความเข้าใจให้เชื่อมโยงกับวิทยานิพนธ์ของตน และนำข้อมูลความรู้ความเข้าใจไปสื่อสารให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่บริษัททำไปให้ จึงจะทำให้การจ้างทำวิจัยประสบความสำเร็จ 100% 3. ระหว่างความรู้ในห้องเรียนกับการทำ thesis อะไรสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต? ขอบอกตามตรงเลยว่า thesis ไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตจริงของท่านอย่างแน่นอน เนื่องจากการทำ thesis นั้นคือการเจาะลึกเพื่อศึกษาอะไรบางอย่างเพียงอย่างเดียวอย่างเจาะจง อาทิเช่น ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรม ศึกษาการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น แต่การศึกษาในห้องเรียนคือการศึกษาที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยไม่เฉพาะเจาะจง คอนเฟิร์มได้เลยว่าในชีวิตจริงนั้น ในการทำงานท่านจะใช้ความรู้ที่ได้จากเรียนในคลาสมาปรับใช้ในการทำงานมากกว่านำ thesis มาปรับใช้แน่นอน Credit: https://bit.ly/3zsJKyq #เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation […]
3 ขั้นตอน วิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย
ในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย บอกเล่าถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน และปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะพบเจอในระหว่างทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยให้เข้าใจง่ายขึ้น “รวบรวม, จำแนก, วิเคราะห์” ลำดับขั้นตอนทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย 1. รวบรวม โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการออกไปลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้กำหนดคุณลักษณะไว้ให้ทำแบบสอบถามงานวิจัย และนำมาทำการตรวจสอบว่ากลุ่มประชากรได้ทำการตอบคำถามครบถ้วนหรือ จำนวนประชากรได้ทำการตอบคำถามครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะถ้าหากตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยไม่ครอบถ้วนและไม่ตรงตามจำนวนประชากรที่กำหนดจะส่งผลทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลคาดเคลื่อน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่สามารถตอบคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 2. จำแนก เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัย โดยการกำหนดการตั้งค่ารหัสข้อมูลที่ใช้ในการแทนผลต่างๆ ออกมาในรูปแบบสถิติที่ทำการวิเคราะห์ในการทำงานวิจัยนั้นๆ 3. วิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยออกมาในรูปแบบข้อมูลทางสถิติตามที่กำหนดไว้ในเนื้อหางานวิจัย โดยทำการแปรผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำการเรียบเรียงเนื้อหาที่จะใช้นำเสนองานวิจัย และใช้ตอบคำถามในการทำงานวิจัย 2 ปัญหา 1 ข้อจำกัด ที่มักส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย 1. ข้อมูลที่ทำการสอบถามได้ไม่ครบถ้วน เป็นปัญหาที่พบประจำในการสำรวจแบบสอบถามงานวิจัย สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัยไม่ชัดเจน ไม่สามารถสื่อความหมายให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่ยินยอมที่จะตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง 2. รายละเอียดคำถามกำกวม ไม่ชัดเจน ปัญหาที่สองเกิดจากคำถามที่ระบุในแบบสอบถามงานวิจัยเป็นคำถามที่ค่อนข้างกำกวม มีรูปประโยคที่วกวนหรืออาจใช้คำที่ไม่ถูกต้อง สะกดผิดไม่ตรงตามหลักภาษา ทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความสับสน ไม่เข้าใจความหมายของคำถามนั้น และอาจเป็นคำถามที่มีรายเอียดไม่ชัดเจนทำให้สื่อความหมายไปอีกทางซึ่งเป็นข้อควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดอคติกับผู้ตอบคำถามได้ 3. ระยะเวลากระชั้นชิด เป็นข้อจำกัดที่มีผลกระทบมากที่สุด เพราะในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตาม มักจะมี “เวลา” เป็นเครื่องกำหนดทั้งสิ้น ในการทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัก็เช่นกัน […]
5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร
หากคุณอยากพัฒนาผลงานวิจัยให้โดดเด่นกว่าใคร แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร ไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาในส่วนไหนบ้าง ในบทความนี้ เรามี 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนาให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1. พัฒนาทักษะด้านภาษา (Language) ในการทำงานวิจัย การใช้ “ภาษา” สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นจะต้องเรียบเรียงภาษาให้มีความกระชับเข้าใจง่าย และถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับบริบทของงานวิจัยที่ทำการศึกษา และโดยเฉพาะใช้ในการแปลบทความ หรือการแปลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาอ้างอิงในเนื้อหาข้อมูลในการศึกษาวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 2. พัฒนาทักษะในการสื่อสาร (Communication) ความสามารถทางภาษาจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยหากทักษะในการสื่อสารไม่ได้ถูกพัฒนาตาม เพราะในกระบวนการทำงานวิจัย จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารสำหรับทำการเก็บข้อมูล เช่น การแจกแบบสอบถาม การแจกแบบสัมภาษณ์ ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญลงแบบบันทึกการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง ในการพูดเชิญชวน ชักชวน โน้มน้าวใจ เพื่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่างให้ตอบคำถามในแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่สอบงานวิจัย ฉะนั้น ผู้ที่มีศิลปะในการสื่อสารย่อมมีความได้เปรียบกว่าผู้อื่น เพราะสามารถอธิบาย แถลง การพูดในที่สาธารณะ 3. พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยี (Technology) ในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้หลอมรวมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และสำหรับการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปไกลมาก เปิดกว้างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สร้างความสะดวกสบายให้สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น […]
รวม 26 เว็บไซต์ค้นหางานวิจัยระดับนานาชาติ
Information 233082 hits 07 ตุลาคม 2562 ฝ่ายวิจัย Information รวม 26 เว็บไซต์ค้นหางานวิจัยระดับนานาชาติ ที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ ProQuestแหล่งค้นหางานวิจัยที่ทุกๆ ปีจะมีวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ชื่อเรื่อง สำหรับการสืบค้นสามารถได้ 3 แบบ คือ Basic Search, Advanced Search และ Browse ERICฐานข้อมูล ERIC – Educational Resources Information Center เป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากทั้งหนังสือ วารสาร รายงานการประชุม งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ข้อมูลที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลนี้จะได้เพียงบรรณานุกรม และสาระสังเขปเท่านั้น ส่วนเรื่องเต็มหากต้องการสามารถสั่งซื้อผ่านบริการของ ERIC ได้ ซึ่งจะมีทางเลือกในการรับข้อมูลหลายรูปแบบในราคาที่แตกต่างกัน ScienceDirectScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม และเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier สำนักพิมพ์ Academic […]
ธุรกิจรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ’หลุมดำ’ อุดมศึกษา
ป.โท ม. เอกชน
ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้ คณะบริหารธุรกิจ 1.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) หลักสูตรภาษาไทย 2.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA-SMEs) สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. คณะรัฐศาสตร์ 1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ 1.หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ 1.สาขาอิสลา…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกริกมหาวิทยาลัยเกริกเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้ คณะศิลปศาสตร์ 1.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ 2.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 3.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมห…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. 1. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) 2.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A. International Program) 3.วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (M.Eng.) …ปริญญาโท มหาวิทยาลัยชินวัตรมหาวิทยาลัยชินวัตรเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. หลักสูตรภาษาไทย 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) 2.หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (MSIT) 3.หลักสูตร…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้… 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต M.B.A. 2.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต M.A. […]
มหาวิทยาลัยของรัฐบาล ที่เปิดสอนระดับปริญญาเอก
ปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะทันตแพทยศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต(หลักสูตรในเวลาราชการ) 1.สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก คณะเภสัชศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต(หล…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก คณะเกษตร (Faculty of Agriculture)เปิดสอนระดับปริญญาเอก7 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา 2.หลักสูตร…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดสอนระดับปริญญาเอก ดังนี้ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก จำนวน 65 หลักสูตร ดังนี้ 1. สาขาวิชาทรัพยากรที่ดิน 2. สาขาวิชาทรัพยากรที่ดิน (นานาชาติ) 3. สาขาวิชาพื…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะสังคมศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเปิดสอนระดับปริญญาเอก ดังนี้ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดสอน 9 สาขาวิชา ดังนี้ 1. วิศวกรรมเคมี 2.วิศวกรรมเครื่องกล 3.วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเ…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering) 1. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี Chemical […]
เทคนิคการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง (Sample Size)
ข้อควรรู้ ก่อนที่จะไปทำความรู้จักสูตรการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง การเรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับการหากลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชากร (Population) คือ สมาชิกทุกหน่วยของสิ่งที่สนใจศึกษาวิจัย กลุ่มตัวอย่าง (Sample) คือ ส่วนหนึ่งของประชากร ที่นำมาเป็นตัวแทนของกลุ่มประชากรทั้งหมด จึงต้องมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถอ้างอิง ไปยังประชากรได้อย่างน่าเชื่อถือ การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) คือ กระบวนการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ที่สามารถเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรทั้งหมดได้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (Sample size) เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อความน่าเชื่อถือของงานวิจัย เนื่องจากกลุ่มตัวอย่าง หรือ Sample Size คือ ตัวแทนที่ดีของประชากรที่ทำการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง (Sample Group) หมายถึง บางส่วนของประชากร ที่ถูกเลือกสำหรับใช้เป็นตัวแทนของประชากรที่ทำการวิจัย การใช้กลุ่มตัวอย่าง ที่มีขนาดเล็กมากเกินไป ย่อมทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของการแปลผลการวิจัยได้มาก ในทางกลับกัน การใช้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ จะมีโอกาสให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อย 3 วิธีการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างมีด้วยกันหลากหลายวิธีด้วยกัน ในที่นี้จะเสนอการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการกำหนดเกณฑ์ การใช้สูตรคำนวณและการใช้ตารางสำเร็จรูป ซึ่งแต่ละวิธีสามารถอธิบายได้ต่อไปนี้ 1. การกำหนดเกณฑ์ ในกรณีนี้ผู้วิจัยต้องทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนก่อนแล้ว ใช้เกณฑ์โดยกำหนดเป็นร้อยละของประชากรในการพิจารณาดังนี้ (ธีรวุฒิ […]
อธิการฯ มทร.ธัญบุรี ลั่นคุมเข้มสกัดลอก-จ้างทำวิทยานิพนธ์ เจอโทษหนักทุจริต-ผิดกฎหมาย
หมวดหมู่: ข่าวการศึกษา 2 June 2020 at 00:32 389 0 การรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ว่าเป็นเรื่องที่ต้องกวดขันอย่างจริงจังรศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวถึงการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ว่า เป็นเรื่องที่ต้องกวดขันอย่างจริงจังเพราะเรื่องนี้สะท้อนถึงคุณภาพของบัณฑิต โดยเฉพาะบัณฑิตปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดคุณภาพวิทยานิพนธ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งผู้เรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกไม่ได้เรียนด้านวิชาการมากนัก เนื้อหาสำคัญจริงๆ จะอยู่ที่วิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยเฉพาะทาง เพราะฉะนั้น ถ้าวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเป็นการจ้างทำหรือคัดลอก แสดงว่าการเรียนใน 2 ระดับนี้เกิดความล้มเหลว อาจารย์จึงควรเข้มงวดต่อการคัดลอกหรือการจ้างทำวิทยานิพนธ์ ในปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีซอฟแวร์ตรวจการคัดลอก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาปัญหาดังกล่าวได้ ส่วนการจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ที่ปรึกษา จะต้องสอดส่องดูแลไม่ปล่อยให้นักศึกษากระทำในสิ่งนี้ และไม่เอื้อให้เกิดการกระทำการดังกล่าว ตนเชื่อว่าบางมหาวิทยาลัยมีการหาผู้ทำให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ทั้งนี้ หากอาจารย์ที่ปรึกษามีการพูดคุยให้ข้อแนะนำในการวิทยานิพนธ์นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ และเห็นถึงทัศนคติของนักศึกษา อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า ในส่วนของ มทร.ธัญบุรีนั้น เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการออกหนังสือเวียนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยทุกหลักสูตรต้องมีวิทยานิพนธ์ บางหลักสูตรมีการทำรายงานปริญญาโท ซึ่งก็ได้พยายามให้ยกเลิกเปลี่ยนมาทำเป็นวิทยานิพนธ์แทน นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้ซอฟแวร์ตรวจสอบการคัดลอก […]